วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จุดเปลี่ยน


จุดเปลี่ยน
อมรรัตน์  อาญา





            “หนังสือเป็นแหล่งสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างได้มา  ทำมา   คิดมา    แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นคล้ายๆธนาคารความรู้และเป็นออมสินเป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าโดยแท้”
            ข้อความตอนหนึ่งของพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานในโอกาสที่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศเข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ 25  พฤศจิกายน   2514
            จากข้อความดังกล่าวข้างต้นเป็นที่ประจักษ์กันดีอยู่แล้วว่ามนุษย์ในสังคมเรามักยกย่องคนที่ฉลาดรอบรู้ว่าเป็น  นักปราชญ์  จึงมิใช่เรื่องแปลกเลยที่ไม่ว่าใครต่อใครต่างก็อยากเป็นนักปราชญ์ด้วยกันทั้งสิ้น  การอ่านเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มพูนปัญญาให้มนุษย์เกิดความรู้และเมื่อมนุษย์เกิดความรู้แล้วก็จะนำเอาความรู้ดังกล่าวนั่นไปพัฒนาตนเอง  สังคม และประเทศให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อไป
            แต่ก่อนที่เราจะอ่านให้ตัวเองเป็นนักปราชญ์นั้น  เราจะต้องทำความเข้าใจให้ท่องแท้ก่อนว่าการอ่านที่แท้จริงคืออะไร  มันสำคัญยังไงต่อชีวิตมนุษย์  มันดีจริงไหม  คนที่อ่านเยอะแล้วมีความรู้มากจริงแค่ไหน  อ่านแล้วเกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใด แล้วถ้าเลือกอ่านแล้วเราจะเป็นอย่างไร ที่เราเข้าใจอยู่ถูกหรือผิดอย่างไร ในเรื่องความหมายของการอ่านนั้นมีคำนิยามมากมายที่ให้ไว้ เช่น
  ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..  2542       ( 2546:1364 ) ให้ความหมายคำว่า  อ่าน ไว้ว่า  ว่าตามตัวหนังสือ ถ้าออกเสียงด้วยเรียกว่า  อ่านออกเสียง  ถ้าไม่ต้องออกเสียงด้วย เรียกว่า  อ่านในใจ  สังเกตหรือพิจารณาเพื่อให้เข้าใจ
            พันธุ์ทิพา หลาบเลิศบุญ ( 2539:45 )   ให้ความหมายการอ่าน   คือ การแปลความหมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิด และนำความคิดไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ดังนั่น หัวใจของการอ่านอยู่ที่เข้าใจความหมายของคำ
            สุนันทา  มั่นเศรษฐวิทย์  (  2545:2 ) ให้ความหมายไว้ว่า การอ่านเป็นลำดับขั้นที่เกี่ยวข้องกับการนำความเข้าใจความหมายของคำ  กลุ่มคำ  ประโยค ข้อความ และเรื่องราวของสารที่ผู้อ่านสามารถบอกความหมายได้
            จากข้อความข้างต้นดังกล่าว  อาจสรุปได้ว่า การอ่านเป็นกระบวนการรับสาร ซึ่งต้องใช้ความคิด  สติ  ปัญญาและความสามารถของแต่ละบุคคลในการนำความเข้าใจความหมายของตัวอักษรเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้อ่านกับผู้เขียน  เมื่อเรารู้ความหมายดังกล่าวแล้วมาย้อนดูซิว่าเราเข้าใจถูกต้องหรือไม่หรือต้องทำความเข้าซะใหม่ ปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ให้ถูกต้องขึ้นแต่ถ้าดูคำนิยามดังกล่าวแล้วต้องยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีความเกี่ยวข้องกับการอ่านมาตั้งแต่อายุน้อยๆหรือตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาและก็ยังเกี่ยวข้องจนถึงปัจจุบันและเกี่ยวข้องไปตลอดชีวิตด้วย     แต่ปัจจุบันนี้ต้องยอมรับอย่างเลี่ยงไม่ได้ว่าสังคมเราพบปัญหาในเรื่องการอ่านเป็นอย่างมากคนอ่านหนังสือกันน้อยมาก จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าในปี พ.. 2551  คนไทยอ่านหนังสือเพียงวันละ 39  นาทีเท่านั่น  ถือว่าลดลงมากหากเทียบกับปี  พ.. 2548   ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 51 นาที  ซึ่งถือได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศของเราของเราพัฒนาไปอย่างล้าช้าก็ว่าได้
            ดิฉันเป็นคนหนึ่งซึ่งต้องบอกตรง ๆ  ว่าเมื่อก่อนเป็นคนไม่ชอบหนังสือ เลยไม่อ่านหนังสือเลยและไม่คิดด้วยว่าจะอ่านด้วยซ้ำ เพราะเคยอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง   อ่านแล้วง่วง  อ่านไปแล้วก็จำไม่ได้  เพราะไม่เคยใส่ใจแม้กระทั้งสอบก็ยังไม่อ่านหนังสือ คิดว่าสอบได้เท่าไหร่ก็เอาแค่ไหน ถึงอ่านไปก็ไม่รู้เรื่องยิ่งมีสื่ออื่นๆเข้ามาก็ยิ่งแล้วใหญ่ สนใจอย่างอื่นมากกว่าหนังสือหลายเท่าต้องเข้าใจว่าสื่อชนิดอื่นนั้นมีอิทธิพลมากกับการใช้ชีวิตของคนเราแต่เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย  ๆเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นมันจำเป็นต้องอ่านจึงจะรู้เรื่องได้เพราะเมื่อเราเข้ามาเรียนในระดับมหาวิทยาลัยไม่มีใครมาคอยย้ำคอยสอนอยู่ตลอดเวลาข้อสอบที่ออกมาส่วนใหญ่ที่เป็นอัตนัยซึ่งถ้าไม่อ่านก็ยิ่งแล้วใหญ่ทำสอบไม่ได้เลยดิฉันเลยต้องฝืนใจตัวเองหันมาอ่านหนังสือ ตอนแรกๆอ่านไปหลับไปเริ่มไม่ไหวไม่อยากอ่านยิ่งพยายามอ่านยิ่งไม่อยากอ่าน ยิ่งอ่านยิ่งเครียดไม่รู้จะทำยังไงเลยลองเอาอย่างเพื่อนของดิฉันบ้าง คือที่บอกว่าเอาเพื่อนเป็นแบบอย่างก็เพราะว่าเพื่อนคนนี้ชอบอ่านหนังสือนิยายเป็นอย่างมากอ่านได้ตลอดเวลาเล่มหนึ่งอ่านแค่วันสองวันก็จบแล้วก็เลยถามเคล็ดลับการอ่านจากเพื่อนเพื่อนก็บอกว่าเราก็เริ่มจากเรื่องที่เราอยากอ่าน  ค่อยๆอ่านไปเรื่อยๆ  เดี่ยวเราก็จะเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือเองแหละ  จากการที่ได้เคล็ดลับมาแล้วดิฉันก็เริ่มฝึก  โดยเริ่มจากการลองอ่านนิยายก่อน  ตอนแรกๆเล่มหนึ่งเกือบเดือนจึงจะจบ ก็อ่านมาเรื่อยๆ ปรากฏว่าเริ่มจะชินแล้วก็เริ่มอ่านหนังสืออื่นๆบ้าง  ปรากฎว่าเคล็ดลับนี้ได้ผลนะก็เริ่มรู้สึกได้เลยว่าการอ่านทำให้เราดีขึ้นจริงๆจากเรื่องที่ไม่เคยรู้ก็เริ่มมีความรู้มากขึ้นรู้ในเรื่องที่ไม่รู้เข้าใจในสิ่งที่รู้ดีขึ้น มีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นถึงแม้จะไม่ได้เป็นนักปราชญ์แต่ก็สามารถพัฒนาให้ตัวเองดีขึ้นมากคะแนนสอบก็เริ่มดีขึ้นมากเป็นที่พอใจอย่างยิ่งถ้าเทียบกับการที่ไม่อ่านหนังสือเมื่อก่อนก็จะเห็นความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนมากดิฉันคิดว่าหลายคนคงจะเคยประสบปัญหาแบบเดียวกับดิฉัน ดิฉันอยากให้คนที่ประสบปัญหาอยู่ลองทำเหมือนที่ดิฉันทำแค่เพียงคิดว่าจะเปลี่ยนและเริ่มทำแค่นี้ก็ถือว่าเอาชนะใจตัวเองไปได้มากกว่าครึ่งแล้วและอยากให้ทุกคนอ่านหนังสือกันเยอะๆเพื่อเพิ่มพูนปัญญาให้ดียิ่งขึ้น
            ในอนาคตดิฉันหวังว่าดิฉันจะต้องนักอ่านและเป็นนักปราชญ์ให้ได้และจะทำให้ทุกคนเห็นคุณค่าความสำคัญของการอ่านให้ได้ซึ่งถ้าทุกคนเห็นคุณค่าของการอ่านแล้วเป็นผู้ที่สามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างดีเยี่ยมแล้วสังคมไทยก็จะกลายเป็นสังคมแห่งอุดมปัญญาเพราะการอ่านจะเป็นประตูของคนในสังคมไทยก้าวไปสู้โลกแห่งความรู้และมีความสามรถในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในทุกๆด้าน
            ฉะนั่น เริ่มอ่านหนังสือตั้งแต่วันนี้เพื่ออนาคตที่ดีของประเทศ อย่าลืมอ่านหนังสือกันเยอะๆนะค่ะ